คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของพลอยคะ (นางสาวพลอยไพลิน อาจหาญ คณะศึกษาศาสตร์ เอกการศึกษาปฐมวัย)

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 18


สิ่งที่เรียนในวันนี้
-  สรุปองค์ความรู้จากวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- ส่งของเล่น
- ทำบล็อกให้เรียบร้อย



วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 17


   ทำ cooking  




ประโยชน์ที่เด็กได้รับจากการทำ อาหารคือ

1. เด็กได้รู้เรื่องของคณิตศาสตร์ เรื่อง สัดส่วน ปริมาณ  จำนวน

2. เด็กสามารถคาดคะเนในการใส่ส่วนผสมต่างๆของอาหารได้

3. เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงและเกิดกระบวนการเรียนรู้ ตั้งแต่การเกิดความร้อน

การระเหยของไอน้ำ เรียนรู้เรื่องวัฏจักรของน้ำหรือการเกิดฝนได้

4. เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กในการหยิบจับ

5. เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน

6. เด็กเกิดความคิดและจินตนาการจากการปรุงอาหาร

สรุปสิ่งที่เรียนมนวันนี้ร่วมกัน 

 

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16



วางแผนการทำ cooking  

 เริ่มจากการทำ Map ก่อน แผ่นแรก เลือกเมนูอาหารที่จะทำ ว่าจะทำอะไรบ้าง
แผ่นที่ 2 อุปกรณ์และเครื่องปรุงอาหาร
แผ่นที่ 3 ขั้นตอนและวิธีการปรุง
แผ่นที่ 4 สิ่งที่คาดว่าเด็กจะได้รับจากการประกอบการทำอาหาร
หลังจากนั้นให้แต่ละกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียน แล้วเลือกเมนูอาหารของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมาทำ Cooking
ในสัปดาห์ถัดไป
งานที่รับมอบหมาย
ให้กลุุ่มที่ได้รับการทำ Cooking เตรียมอุปกรณ์การทำอาหารมาให้เรียบร้อย

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14



สิ่งที่เรียนในวันนี้ การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน

นำเสนอสื่อมุม  ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้นำเสนอเรื่อง กงล้อสัตว์ ซึ่งเกี่ยวกับวัฏจักรของสัตว์
 วงจรชีวิตของสัตว์ หมายถึง ชีวิตการเจริญเติบโตของสัตว์ที่เจริญเติบโตต่อเนื่องกันมาอย่างเป็นระเบียบ การเจริญเติบโตของสัตว์บางชนิดจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในการเจริญเติบโต การเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างครบ 4 ชั้น (Complete Metamorphosis)
     เมตามอร์โฟซีสแบบสมบูรณ์ คือ แมลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างครบ 4 ขั้น คือ ไข่ (egg) è ตัวอ่อน (larva) è ดักแด้ (pupa) èตัวเต็มวัย (adult) ได้แก่ ยุง ผีเสื้อ ผึ้ง มด ต่อ แตน ไหม แมลงวัน ด้วง



วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13


สรุปงานวิจัย

              
                    บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย
ความเป็นมาและวัตถุประสงค์
งานวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่า เด็กปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) เป็นช่วงที่มีความสำคัญมาก เพราะมีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำสูงสุด เป็นวัยที่ต้องวางรากฐานที่ดีเพื่อให้มีทัศนคติและทักษะพื้นฐานที่ดีด้านวิทยาศาสตร์หากครูผู้สอนในระดับปฐมวัยสามารถถ่ายทอดความรู้ มีเทคนิคและกระบวนการสอนที่สอดคล้องและเหมาะสมกับวัยเสริมเข้าไปในหลักสูตร จะทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ และสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ ความอยากรู้อยากเห็น ความช่างสังเกต และความสามารถในการจดจำวิชาต่าง ๆ ในอนาคตได้เป็นอย่างดี
 ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย
ผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเข้าร่วมโครงการคือ เด็กปฐมวัย (อายุระหว่าง 3-6 ปี) โดยเด็กจะได้รับการฝึกฝนและสร้างทักษะด้านการสังเกตและเรียนรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างง่าย ๆ ตลอดจนการเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง ซึ่งโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยจะเป็นหน่วยงานที่มีส่วนช่วยทำให้เด็กมีสิทธิและโอกาสทางการศึกษาทัดเทียมกับทุกคนในสังคม ตลอดจนช่วยสร้างจิตสำนึกที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย
ภาระหน้าที่ของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
-                  โครงการ "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย" จะประสานงานกับโรงเรียนอนุบาลในระยะยาว เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนอนุบาล
-                   โครงการ "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย" จะสนับสนุนการทำงานของครู และส่งเสริมการมี ส่วนร่วมของผู้ปกครองในภาคปฏิบัติต่าง ๆ เช่น การทดลอง
-                  โครงการ "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย" จะสร้างความเข้มแข็งในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างบุคลากรสำหรับวงการวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ในระยะยาว
เป้าหมายในระยะยาวของบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
คือ ต้องการสนับสนุนการเพิ่มความรู้ความสามารถ ของบุคลากรผู้สอน ดังนั้น จึงมีการฝึกฝนให้ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถในการหยิบยกปรากฏการณ์ทาง ธรรมชาติ และความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรอบตัวมาผสมผสานกับงานสอนของตนได้ด้วยตนเอง
การอบรมเชิงปฏิบัติการมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นความสนใจและถ่ายทอดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่ครู รวมทั้งเทคนิคและวิธีนำการทดลองไปใช้ในการเรียนการสอน นอกจากนี้ โครงการยังสร้างเครือข่ายระหว่างครูที่เข้ารับการอบรมให้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน ครูจะได้รับการอบรมเกี่ยวกับพื้นฐานด้านการสอน เทคนิคและวิธีการสอนอย่างเข้มข้น ซึ่งรูปแบบของการอบรมเชิงปฏิบัติการทั้งหมดสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นได้ตลอดเวลา
การอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่ 1
การอบรมครั้งแรกนี้จะแนะนำหลักสูตรต่าง ๆ การแนะแนวทางการเรียนการสอน และตัวอย่างการทดลองทางวิทยาศาสตร์ โดยหัวข้อแรกที่จะทำการทดลองคือเรื่อง น้ำ ซึ่งใช้ระยะเวลาการอบรม 1 วัน
การอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่ 2
ภายหลังจากการอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่ 1 3 เดือนจะจัดให้มีการอบรมขั้นที่ 2 โดยเริ่มจากการให้ครูได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้นำความรู้จากการอบรมปฏิบัติการขั้นที่ 1 ไปใช้สอนจริง หลังจากนั้นก็ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในหัวข้อ อากาศ ควรใช้ระยะเวลาในการอบรมอย่างน้อยครึ่งวัน
การอบรมเชิงปฏิบัติการเฉพาะทาง
ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นและโรงเรียนอนุบาลจะควรร่วมกันจัดอบรมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งสามารถใช้หัวข้อการอบรมได้จากใบกิจกรรมการทดลอง
หน้าที่ของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย
หน้าที่ของโครงการได้แก่
-                   สร้างและพัฒนารูปแบบของการอบรมเชิงปฏิบัติการ: ในช่วงโครงการนำร่อง สำนักงานโครงการจะเป็นผู้พัฒนารูปแบบของการอบรมเชิงปฏิบัติการ และนำไปใช้ในการฝึกอบรมวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น และจะได้พัฒนารูปแบบโดยอ้างอิงจากประสบการณ์ของผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นต่อไป
-                   อบรมวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น: ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นแต่ละแห่งจะแต่งตั้งวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น(Local Trainers: LT) ของตน จำนวน 2 คน โดยวิทยากรหลัก (Core Trainers) จากโครงการจะเป็นผู้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ ทั้งในเรื่องของกระบวนการเรียนการสอน เนื้อหาและเทคนิคการสอน การทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็ก ซึ่งวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่นสามารถให้คำแนะนำเรื่องการอบรมแก่วิทยากรหลักได้ตลอดทั้งปี7
-                   สื่อการเรียนการสอน: สำนักงานโครงการมีหน้าที่พัฒนาและผลิตสื่อการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนอนุบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบกิจกรรมทดลองและกล่องนักวิทยาศาสตร์น้อยที่เก็บรักษาใบกิจกรรมทดลองนอกจากนี้สำนักงานโครงการยังรับผิดชอบการจัดพิมพ์คู่มือผู้อบรม แผ่นพับสำหรับนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง หรือเอกสารประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ในหัวข้อ 2.4 จะเป็นภาพรวมเกี่ยวกับเอกสารต่าง ๆ ที่มีไว้ให้โรงเรียนอนุบาลและผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น และกระบวนการขั้นตอนจัดส่งเอกสาร
-                   การจัดส่งเอกสาร: สำนักงานโครงการจะจัดส่งเอกสารที่จำเป็นไปยังผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งจะแจกจ่ายเอกสารไปยังโรงเรียนอนุบาลที่อยู่ในเครือข่ายต่อไป
-                   นักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง: โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยเปิดรับอาสาสมัครเพื่อทำงานในโรงเรียนอนุบาลแต่ละแห่ง โดยทำหน้าที่ในบทบาทของนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรพี่เลี้ยง ในการให้คำแนะนำเรื่องการประชาสัมพันธ์และเชิญชวนผู้ที่สนใจมาสนับสนุนโครงการ
-                   ดูแลและพัฒนาเว็บไซต์: www.littlescientists.com มีข้อมูลกิจกรรมการทดลองและข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ และปฏิทินกิจกรรม ซึ่งผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นสามารถใช้เว็บไซต์ในการเสนอผลงานของตนเอง สามารถประชาสัมพันธ์กิจกรรมได้ด้วย
-                   งานประชาสัมพันธ์: โครงการมีหน้าที่รณรงค์ให้สังคมเห็นถึงความสำคัญของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย และดูแลภาพลักษณ์ของโครงการที่ปรากฏสู่สายตาสาธารณชนทั่วประเทศอย่างเป็นเอกภาพเช่น การจัดงานแถลงข่าว และ/หรือ ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ให้สื่อมวลชน เมื่อมีการก่อตั้งผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นใหม่(Local Network) ท่านสามารถติดต่อขอข้อมูลประชาสัมพันธ์ได้ที่โครงการ
-                   สร้างเครือข่าย: การประชุมเครือข่ายทำให้บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายและแลกเปลี่ยนคณะกรรมการกันได้ตลอดเวลา
-                   เสริมความแข็งแกร่งทางวิชาการ: “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยร่วมมือกับนักวิชาการ นักวิจัยการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น ๆ
แนวทางการเรียนการสอน
กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน (co-construction): สภาวะแวดล้อมของการเรียนรู้แบบ co-construction จะนำไปสู่การเรียนรู้ร่วมกันในการทำงานจริงที่เด็กจะสามารถนำไปเชื่อมโยงความหมายกับโลกของตัวเองได้ เด็กและครูจะร่วมกันสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน แนวคิด constructivism กล่าวว่า เด็กคือผู้เริ่มสร้างความรู้ของตัวเอง แนวคิดนี้ได้รับการพัฒนาต่อไปโดยพวก social constructivism (co-construction) ซึ่งเน้นการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างบุคคลว่าเป็นกุญแจหลักไปสู่การสร้างความรู้และสาระสำคัญ (เป้าหมาย) ซึ่งให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ผ่านการทำงานร่วมกัน การวิจัยความหมายผ่านเด็ก ๆ และลดการเรียนแต่ความรู้ข้อเท็จจริงล้วน ๆ กระบวนการศึกษาแบบนี้นำไปสู่ข้อสันนิษฐานดังต่อไปนี้ :
-                   เด็กมีศักยภาพ
-                   เด็กน่าจะสามารถพัฒนาศักยภาพของตนได้
-                   เด็กต้องเรียนรู้ศักยภาพใหม่ ๆ
แนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายทอดความรู้ที่ใช้แต่การถ่ายโอนความรู้จากผู้มีประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน หรือการทำกิจกรรมของผู้เรียนฝ่ายเดียว รวมทั้งการสร้างความรู้ด้วยตัวเองนั้น ไม่เหมาะกับยุคสมัยอีกต่อไป และพิสูจน์ให้เห็นในอดีตแล้วว่าไม่ได้ผล ผลจากการวิจัยยืนยันว่าการเรียนแบบ co-construction จะนำไปสู่ผลการเรียนรู้ที่ดีกว่าวิธีเรียนรู้แบบค้นพบด้วยตัวเอง หรือด้วยการให้แต่ละบุคคลสร้างความหมายด้วยตัวเอง (ดูเปรียบเทียบCrowley & Siegler, 1999)
กระบวนการเรียนรู้แบบ co-construction จำเป็นต้องอาศัยเงื่อนไขบางอย่าง/หลากหลายในตัวเด็กและครูเพื่อจะตอบสนองกระบวนการเรียนรู้แบบ co-construction เด็กจำเป็นต้องพัฒนาทัศนคติในแง่บวกต่อตัวเองมาก่อนแล้ว ความมั่นใจและเชื่อมั่นในตัวเองจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจะได้สามารถกล้าเสนอและยืนยันความคิดและวิธีมองของตัวเองต่อผู้อื่นได้ นอกจากนี้ เด็กยังต้องสามารถสื่อสารทั้งทางคำพูดและท่าทางกับผู้อื่นได้เหมาะสมตามวัย เพื่อจะแสดงความคิดของตัวเองได
Metacognition – เด็กเรียนรู้ที่จะเรียน
กระบวนการเรียนรู้ไม่ได้ถูกมองเป็นเพียงการรับความรู้เท่านั้น แต่เป็นรูปแบบที่ไม่หยุดนิ่งของการสร้างความรู้ สิ่งสำคัญไม่ใช่แต่การเรียนหน่วยความรู้แยกกัน แต่เป็นการเรียนความรู้ที่จัดระเบียบแล้วอย่างชาญฉลาดด้วยวิธีนี้ เด็กจะสามารถเรียนทั้งเนื้อหาและการเรียนรู้ได้ด้วย
การรู้คิดหมายถึงความรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองรู้ สิ่งที่ตัวเองค้นพบและวิธีหาความรู้ของตนเอง ผู้เรียนจะตระหนักถึงความรู้ การค้นพบและกลวิธีการเรียนของตัวเอง
การตั้งคำถามที่มาจากชีวิตจริงในชีวิตประจำวันหรือในแต่ละกรณีเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนแทนขั้นตอนสำเร็จรูป การสร้างความรู้ร่วมกันมีความสำคัญในขณะที่การถ่ายทอดความรู้ลดความสำคัญน้อยลง ตั้งแต่ในช่วงปฐมวัย เราก็สามารถแนะนำเด็กให้กลวิธีและเทคโนโลยีแบบรู้คิด
การใช้แนวทางรู้คิด นำไปสู่การเปลี่ยนแนวคิดการเรียนคือการลงมือทำกลายเป็นการเรียนคือการรู้เด็กจะสามารถพัฒนาแนวการเรียนรู้ของตัวเองและปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ ๆ ได้ เด็กจะพัฒนาเทคนิคการตีความ มีการส่งเสริมให้เด็กตระหนักถึงกระบวนการเรียนรู้ แนวทางการรู้คิดจะนำไปสู่ความเข้าใจหัวข้อศึกษาที่ลึกซึ้งขึ้นและจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของการเรียนอย่างเป็นระบบ
สรุปแนวทาง
-  เด็กและครูช่วยกันสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน (co-construction)
1. ครูจะร่วมหาไอเดียและกระบวนการพร้อมกับเด็ก
2. เด็กเรียนรู้ร่วมกันและแลกเปลี่ยนความคิด
3. การทดลองไม่ได้จำกัดเป็นเพียงการทำตามการทดลอง
เด็กรู้ตัวว่าพวกเขากำลังเรียน เรียนเรื่องอะไร และเรียนอย่างไร (metacognition)
1. ครูและเด็กไม่ได้ศึกษาแต่เนื้อหาและกิจกรรม แต่ศึกษากระบวนการเรียนรู้ด้วย
2. ปรากฏการณ์มีที่มาจากโลกของเด็ก และนำไปสอดใส่ในความเชื่อมโยงที่ซับซ้อน
3. การบันทึกกิจกรรมจะช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกกราเรียนครั้งที่ 12




วันนี้นำเสนองานกลุ่ม  เรื่องการทดลอง
ขั้นตอนการนำเสนอ
การนำเสนอ   ตั้งสมมติฐาน   ทดลอง  วิเคราะห์  สรุปผล   ถ่ายรูปวิธีการทำกิจกรรม
กลุ่มที่ 1 ทดลองเรื่อง สีเต้นระบำ
กลุ่มที่ 2 ทดลองเรื่อง ไฟฟ้าสถิตจากลูกโป่งกับผม กระดาษหมุนได้
กลุ่มที่ 3 ทดลองเรื่อง เป่าลูกโป่งในขวด
กลุ่มที่ 4 ทดลองเรื่อง เป่าฟองสบู่
กลุ่มที่ 5 ทดลองเรื่อง  ไข่จมไข่ลอย
กลุ่มที่ 6 ทดลองเรื่อง ส่องกระดาษ ซองจดหมายที่มีรูป และไม่มีรูป
กลุ่มที่  7 ทดลองเรื่องวัตถุโปร่งแสง
กลุ่มที่  8 ทดลองเรื่อง ลาวา
กลุ่มที่  9 ทดลองเรื่อง ดูดน้ำแดง
กลุ่มที่  10 ทดลองเรื่อง เขียนน้ำส้มสายชูแล้วรนไฟ
กลุ่มที่  11 ทดลองเรื่อง น้ำส้มสายชู ผงฟู เป่าลุกโป่ง
กลุ่มที่  12 ทดลองเรื่อง จุดเทียนแล้วคว่ำแก้ว
กลุ่มที่  13 ทดลองเรื่อง แก้วดูดลูกโป่ง
กลุ่มที่  14 ทดลองเรื่อง น้ำยาทาเล็บหยดน้ำ
กลุ่มที่  15 ทดลองเรื่อง เปลวไฟลอยน้ำ

กลุ่มที่  16 ทดลองเรื่อง คลิปหนีบกระดาษลอยได้