คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของพลอยคะ (นางสาวพลอยไพลิน อาจหาญ คณะศึกษาศาสตร์ เอกการศึกษาปฐมวัย)

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13


สรุปงานวิจัย

              
                    บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย
ความเป็นมาและวัตถุประสงค์
งานวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่า เด็กปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) เป็นช่วงที่มีความสำคัญมาก เพราะมีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำสูงสุด เป็นวัยที่ต้องวางรากฐานที่ดีเพื่อให้มีทัศนคติและทักษะพื้นฐานที่ดีด้านวิทยาศาสตร์หากครูผู้สอนในระดับปฐมวัยสามารถถ่ายทอดความรู้ มีเทคนิคและกระบวนการสอนที่สอดคล้องและเหมาะสมกับวัยเสริมเข้าไปในหลักสูตร จะทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ และสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ ความอยากรู้อยากเห็น ความช่างสังเกต และความสามารถในการจดจำวิชาต่าง ๆ ในอนาคตได้เป็นอย่างดี
 ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย
ผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเข้าร่วมโครงการคือ เด็กปฐมวัย (อายุระหว่าง 3-6 ปี) โดยเด็กจะได้รับการฝึกฝนและสร้างทักษะด้านการสังเกตและเรียนรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างง่าย ๆ ตลอดจนการเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง ซึ่งโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยจะเป็นหน่วยงานที่มีส่วนช่วยทำให้เด็กมีสิทธิและโอกาสทางการศึกษาทัดเทียมกับทุกคนในสังคม ตลอดจนช่วยสร้างจิตสำนึกที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย
ภาระหน้าที่ของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
-                  โครงการ "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย" จะประสานงานกับโรงเรียนอนุบาลในระยะยาว เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนอนุบาล
-                   โครงการ "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย" จะสนับสนุนการทำงานของครู และส่งเสริมการมี ส่วนร่วมของผู้ปกครองในภาคปฏิบัติต่าง ๆ เช่น การทดลอง
-                  โครงการ "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย" จะสร้างความเข้มแข็งในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างบุคลากรสำหรับวงการวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ในระยะยาว
เป้าหมายในระยะยาวของบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
คือ ต้องการสนับสนุนการเพิ่มความรู้ความสามารถ ของบุคลากรผู้สอน ดังนั้น จึงมีการฝึกฝนให้ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถในการหยิบยกปรากฏการณ์ทาง ธรรมชาติ และความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรอบตัวมาผสมผสานกับงานสอนของตนได้ด้วยตนเอง
การอบรมเชิงปฏิบัติการมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นความสนใจและถ่ายทอดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่ครู รวมทั้งเทคนิคและวิธีนำการทดลองไปใช้ในการเรียนการสอน นอกจากนี้ โครงการยังสร้างเครือข่ายระหว่างครูที่เข้ารับการอบรมให้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน ครูจะได้รับการอบรมเกี่ยวกับพื้นฐานด้านการสอน เทคนิคและวิธีการสอนอย่างเข้มข้น ซึ่งรูปแบบของการอบรมเชิงปฏิบัติการทั้งหมดสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นได้ตลอดเวลา
การอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่ 1
การอบรมครั้งแรกนี้จะแนะนำหลักสูตรต่าง ๆ การแนะแนวทางการเรียนการสอน และตัวอย่างการทดลองทางวิทยาศาสตร์ โดยหัวข้อแรกที่จะทำการทดลองคือเรื่อง น้ำ ซึ่งใช้ระยะเวลาการอบรม 1 วัน
การอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่ 2
ภายหลังจากการอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่ 1 3 เดือนจะจัดให้มีการอบรมขั้นที่ 2 โดยเริ่มจากการให้ครูได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้นำความรู้จากการอบรมปฏิบัติการขั้นที่ 1 ไปใช้สอนจริง หลังจากนั้นก็ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในหัวข้อ อากาศ ควรใช้ระยะเวลาในการอบรมอย่างน้อยครึ่งวัน
การอบรมเชิงปฏิบัติการเฉพาะทาง
ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นและโรงเรียนอนุบาลจะควรร่วมกันจัดอบรมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งสามารถใช้หัวข้อการอบรมได้จากใบกิจกรรมการทดลอง
หน้าที่ของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย
หน้าที่ของโครงการได้แก่
-                   สร้างและพัฒนารูปแบบของการอบรมเชิงปฏิบัติการ: ในช่วงโครงการนำร่อง สำนักงานโครงการจะเป็นผู้พัฒนารูปแบบของการอบรมเชิงปฏิบัติการ และนำไปใช้ในการฝึกอบรมวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น และจะได้พัฒนารูปแบบโดยอ้างอิงจากประสบการณ์ของผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นต่อไป
-                   อบรมวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น: ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นแต่ละแห่งจะแต่งตั้งวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น(Local Trainers: LT) ของตน จำนวน 2 คน โดยวิทยากรหลัก (Core Trainers) จากโครงการจะเป็นผู้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ ทั้งในเรื่องของกระบวนการเรียนการสอน เนื้อหาและเทคนิคการสอน การทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับเด็ก ซึ่งวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่นสามารถให้คำแนะนำเรื่องการอบรมแก่วิทยากรหลักได้ตลอดทั้งปี7
-                   สื่อการเรียนการสอน: สำนักงานโครงการมีหน้าที่พัฒนาและผลิตสื่อการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนอนุบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบกิจกรรมทดลองและกล่องนักวิทยาศาสตร์น้อยที่เก็บรักษาใบกิจกรรมทดลองนอกจากนี้สำนักงานโครงการยังรับผิดชอบการจัดพิมพ์คู่มือผู้อบรม แผ่นพับสำหรับนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง หรือเอกสารประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ในหัวข้อ 2.4 จะเป็นภาพรวมเกี่ยวกับเอกสารต่าง ๆ ที่มีไว้ให้โรงเรียนอนุบาลและผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น และกระบวนการขั้นตอนจัดส่งเอกสาร
-                   การจัดส่งเอกสาร: สำนักงานโครงการจะจัดส่งเอกสารที่จำเป็นไปยังผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งจะแจกจ่ายเอกสารไปยังโรงเรียนอนุบาลที่อยู่ในเครือข่ายต่อไป
-                   นักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง: โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยเปิดรับอาสาสมัครเพื่อทำงานในโรงเรียนอนุบาลแต่ละแห่ง โดยทำหน้าที่ในบทบาทของนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรพี่เลี้ยง ในการให้คำแนะนำเรื่องการประชาสัมพันธ์และเชิญชวนผู้ที่สนใจมาสนับสนุนโครงการ
-                   ดูแลและพัฒนาเว็บไซต์: www.littlescientists.com มีข้อมูลกิจกรรมการทดลองและข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ และปฏิทินกิจกรรม ซึ่งผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นสามารถใช้เว็บไซต์ในการเสนอผลงานของตนเอง สามารถประชาสัมพันธ์กิจกรรมได้ด้วย
-                   งานประชาสัมพันธ์: โครงการมีหน้าที่รณรงค์ให้สังคมเห็นถึงความสำคัญของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย และดูแลภาพลักษณ์ของโครงการที่ปรากฏสู่สายตาสาธารณชนทั่วประเทศอย่างเป็นเอกภาพเช่น การจัดงานแถลงข่าว และ/หรือ ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ให้สื่อมวลชน เมื่อมีการก่อตั้งผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นใหม่(Local Network) ท่านสามารถติดต่อขอข้อมูลประชาสัมพันธ์ได้ที่โครงการ
-                   สร้างเครือข่าย: การประชุมเครือข่ายทำให้บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายและแลกเปลี่ยนคณะกรรมการกันได้ตลอดเวลา
-                   เสริมความแข็งแกร่งทางวิชาการ: “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยร่วมมือกับนักวิชาการ นักวิจัยการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น ๆ
แนวทางการเรียนการสอน
กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน (co-construction): สภาวะแวดล้อมของการเรียนรู้แบบ co-construction จะนำไปสู่การเรียนรู้ร่วมกันในการทำงานจริงที่เด็กจะสามารถนำไปเชื่อมโยงความหมายกับโลกของตัวเองได้ เด็กและครูจะร่วมกันสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน แนวคิด constructivism กล่าวว่า เด็กคือผู้เริ่มสร้างความรู้ของตัวเอง แนวคิดนี้ได้รับการพัฒนาต่อไปโดยพวก social constructivism (co-construction) ซึ่งเน้นการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างบุคคลว่าเป็นกุญแจหลักไปสู่การสร้างความรู้และสาระสำคัญ (เป้าหมาย) ซึ่งให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ผ่านการทำงานร่วมกัน การวิจัยความหมายผ่านเด็ก ๆ และลดการเรียนแต่ความรู้ข้อเท็จจริงล้วน ๆ กระบวนการศึกษาแบบนี้นำไปสู่ข้อสันนิษฐานดังต่อไปนี้ :
-                   เด็กมีศักยภาพ
-                   เด็กน่าจะสามารถพัฒนาศักยภาพของตนได้
-                   เด็กต้องเรียนรู้ศักยภาพใหม่ ๆ
แนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายทอดความรู้ที่ใช้แต่การถ่ายโอนความรู้จากผู้มีประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน หรือการทำกิจกรรมของผู้เรียนฝ่ายเดียว รวมทั้งการสร้างความรู้ด้วยตัวเองนั้น ไม่เหมาะกับยุคสมัยอีกต่อไป และพิสูจน์ให้เห็นในอดีตแล้วว่าไม่ได้ผล ผลจากการวิจัยยืนยันว่าการเรียนแบบ co-construction จะนำไปสู่ผลการเรียนรู้ที่ดีกว่าวิธีเรียนรู้แบบค้นพบด้วยตัวเอง หรือด้วยการให้แต่ละบุคคลสร้างความหมายด้วยตัวเอง (ดูเปรียบเทียบCrowley & Siegler, 1999)
กระบวนการเรียนรู้แบบ co-construction จำเป็นต้องอาศัยเงื่อนไขบางอย่าง/หลากหลายในตัวเด็กและครูเพื่อจะตอบสนองกระบวนการเรียนรู้แบบ co-construction เด็กจำเป็นต้องพัฒนาทัศนคติในแง่บวกต่อตัวเองมาก่อนแล้ว ความมั่นใจและเชื่อมั่นในตัวเองจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจะได้สามารถกล้าเสนอและยืนยันความคิดและวิธีมองของตัวเองต่อผู้อื่นได้ นอกจากนี้ เด็กยังต้องสามารถสื่อสารทั้งทางคำพูดและท่าทางกับผู้อื่นได้เหมาะสมตามวัย เพื่อจะแสดงความคิดของตัวเองได
Metacognition – เด็กเรียนรู้ที่จะเรียน
กระบวนการเรียนรู้ไม่ได้ถูกมองเป็นเพียงการรับความรู้เท่านั้น แต่เป็นรูปแบบที่ไม่หยุดนิ่งของการสร้างความรู้ สิ่งสำคัญไม่ใช่แต่การเรียนหน่วยความรู้แยกกัน แต่เป็นการเรียนความรู้ที่จัดระเบียบแล้วอย่างชาญฉลาดด้วยวิธีนี้ เด็กจะสามารถเรียนทั้งเนื้อหาและการเรียนรู้ได้ด้วย
การรู้คิดหมายถึงความรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองรู้ สิ่งที่ตัวเองค้นพบและวิธีหาความรู้ของตนเอง ผู้เรียนจะตระหนักถึงความรู้ การค้นพบและกลวิธีการเรียนของตัวเอง
การตั้งคำถามที่มาจากชีวิตจริงในชีวิตประจำวันหรือในแต่ละกรณีเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนแทนขั้นตอนสำเร็จรูป การสร้างความรู้ร่วมกันมีความสำคัญในขณะที่การถ่ายทอดความรู้ลดความสำคัญน้อยลง ตั้งแต่ในช่วงปฐมวัย เราก็สามารถแนะนำเด็กให้กลวิธีและเทคโนโลยีแบบรู้คิด
การใช้แนวทางรู้คิด นำไปสู่การเปลี่ยนแนวคิดการเรียนคือการลงมือทำกลายเป็นการเรียนคือการรู้เด็กจะสามารถพัฒนาแนวการเรียนรู้ของตัวเองและปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ ๆ ได้ เด็กจะพัฒนาเทคนิคการตีความ มีการส่งเสริมให้เด็กตระหนักถึงกระบวนการเรียนรู้ แนวทางการรู้คิดจะนำไปสู่ความเข้าใจหัวข้อศึกษาที่ลึกซึ้งขึ้นและจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของการเรียนอย่างเป็นระบบ
สรุปแนวทาง
-  เด็กและครูช่วยกันสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน (co-construction)
1. ครูจะร่วมหาไอเดียและกระบวนการพร้อมกับเด็ก
2. เด็กเรียนรู้ร่วมกันและแลกเปลี่ยนความคิด
3. การทดลองไม่ได้จำกัดเป็นเพียงการทำตามการทดลอง
เด็กรู้ตัวว่าพวกเขากำลังเรียน เรียนเรื่องอะไร และเรียนอย่างไร (metacognition)
1. ครูและเด็กไม่ได้ศึกษาแต่เนื้อหาและกิจกรรม แต่ศึกษากระบวนการเรียนรู้ด้วย
2. ปรากฏการณ์มีที่มาจากโลกของเด็ก และนำไปสอดใส่ในความเชื่อมโยงที่ซับซ้อน
3. การบันทึกกิจกรรมจะช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น